บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการศึกษาทั่วไป
1.1 คำนำ
การศึกษาเล่าเรียนเป็นกิจกรรมสำคัญของมนุษย์ในการพัฒนาตนเองให้มีจริยธรรมมีความรู้ในการประกอบอาชีพดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขโดยไม่เบียดเบียนใครมนุษย์ไม่ได้เรียนเพื่ออนาคตอย่างเดียวแต่ต้องเรียนเพื่อปัจจุบันด้วยการศึกษาไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่ขอบรั้วโรงเรียนมนุษย์สามารถศึกษาเล่าเรียนได้ทุกสถานที่ทุกเวลาทุกช่วงอายุในการดำรงชีวิตประจำวันนั้นต้องใช้ผลของการศึกษาเล่าเรียนมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัวก็ตาม
การจะเข้าใจการศึกษาให้ชัดเจนขึ้นควรมีความรู้เบื้องต้นของการศึกษาหลักการจัดการศึกษาประวัติความเป็นมาของการศึกษาไทยถ้าปราศจากการศึกษาแล้วมนุษย์ก็ปราศจากคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการยกฐานะของมนุษย์ให้เป็นผู้มีความเจริญทั้งทางพัฒนาการของร่างกายอารมณ์และจิตใจเหมาะสมกับวัยมีคุณสมบัติที่พึงพอใจและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคมทุกสังคมทั่วโลกจึงจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนของตนสิทธิของการศึกษาจึงจัดว่าเป็นสิทธิพื้นฐานอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมากซึ่งรักจะต้องจัดให้กับประชาชนของตนเองเพื่อเป็นการพัฒนามนุษยชาติให้มีความเสมอภาคการพัฒนาความสามารถของแต่ละคนให้เจริญก้าวหน้าซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยรวมต่อสังคมในประเทศนั้นๆและแก่สังคมโลกโดยอ้อม
1.2 ความหมายการศึกษาตามรูปศัพท์
คำว่า education ในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากภาษาละตินว่า educare แปลว่าบำรุงเลี้ยงอบรมรักษาทำให้งอกงามหรืออีกนัยหนึ่ง education หมายถึงการอบรมเด็กทั้งกายและทางสมองส่วนคำว่า
การศึกษา ในภาษาไทยนั้นเป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับภาษาบาลีว่าสิกขาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.
ศ. 2525 ให้ความหมายว่าการเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม
1.2.1 ความหมายของการศึกษาตามทัศนะของชาวต่างประเทศ
พราโต
กล่าวว่าการศึกษาคือการเปลี่ยนแปลงความคิดหรือวิญญาณของมนุษย์ education is
conversion human soul คือการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจากโลกมืดไปสู่โลกที่สว่างโลกที่สว่างนี้แบ่งออกเป็นสองโลกคือโลกแห่งสติปัญญาโลกแห่งประสาทสัมผัสสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่ใช้เป็นการแสวงหาความจริงเท่านั้นไม่ใช่ความจริงแท้
อริสโตเติล
ชาวกรีกกล่าวว่าการศึกษาหมายถึงการอบรมคนให้เป็นพลเมืองดีและดำเนินชีวิตด้วยการทำดี
ฟรานซิส
เบคอน
กล่าวว่าการศึกษาคือทำให้คนมีเหตุมีผลให้เข้าถึงความจริงที่ตรงกันเบคอนเห็นว่าความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวตามแนวทัศนะนี้จิตมนุษย์เหมือนกับกระจกเงาจะสะท้อนภาพชัดเจนก็ต่อเมื่อได้มีการชำระฝ้าจิตจะเข้าถึงต้องกำจัดอคติ
จอห์น
ล็อค
ชาวอังกฤษกล่าวว่า การศึกษาคือองค์ประกอบของพลศึกษาจริยศึกษาและพุทธิศึกษา
ยอง
ยัคส์ รุสโซ
กล่าวว่าการศึกษาคือการนำความสามารถในตัวบุคคลมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับธรรมชาติของบุคคล
จอห์น
ดิวอี้
ชาวอเมริกันกล่าวว่าการศึกษาคือชีวิตไม่ใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิตในภายหน้าการศึกษาคือความเจริญงอกงามทั้งในด้านร่างกายอารมณ์สังคมและสติปัญญาเป้าหมายทางการศึกษาคือชีวิตมนุษย์ต้องการให้มนุษย์เป็นอย่างไรก็กำหนดเป้าหมายขึ้นไว้การศึกษาเป็นพลวัตมีการเปลี่ยนแปลงได้ระบบการศึกษาที่มีเป้าหมายชัดเจนสมบูรณ์จะต้องจัดเพื่อพัฒนาทั้งในแง่สติปัญญาเหตุผลอารมณ์และร่างกายของผู้เรียน
ธีโอดอร์
ชูลท์
นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการศึกษาคือการลงทุนอย่างหนึ่งของมนุษย์เพื่อประโยชน์ของตนเองเพราะการศึกษาช่วยให้บุคคลพัฒนาความสามารถและความเจริญงอกงามในด้านต่างๆ
ทัลคอทท์
พาร์สัน
นักสังคมวิทยากล่าวว่าการศึกษาคือเครื่องมือเตรียมเด็กและเยาวชนให้มีบทบาทในวงการอาชีพต่างๆของผู้ใหญ่
1.2.2 ความหมายของการศึกษาตามทัศนะของนักการศึกษาไทย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ศึกษา หมายถึง การเล่าเรียน ฝึกฝน อบรม ในภาษาบาลีใช้คำว่า สิกขา หมายถึง
ข้อที่ต้องศึกษาข้อที่ต้องปฏิบัติ
สาโรช
บัวศรี
ให้ความหมายว่าการศึกษาคือการพัฒนาขันธ์ 5 โดยใช้มรรค 8
เพื่อให้อกุศลมูลคือความโลภความโกรธความหลงลดน้อยลงหรือเบาบางลงมากที่สุดขันธ์ 5
ประกอบด้วยรูปคือร่างกายเวทนาคือความรู้สึกสัญญาคือความทรงจำสังขารคือเครื่องปรุงแต่งเช่นทัศนคติความสนใจความสามารถและทักษะเป็นต้นวิญญาณคือการเกิดความรู้
วิจิตร
ศรีสอ้าน
กล่าวว่าการศึกษาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปในแนวทางที่พึงปรารถนาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นไปอย่างจงใจมีการกำหนดจุดมุ่งหมายและดำเนินการอย่างเป็นระบบมีกระบวนการเหมาะสมและผ่านสถาบันทางสังคมที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ด้านการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ. ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ. ศ. 2545 ให้ความหมายของการศึกษาไว้ว่า
การศึกษาคือกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึกการอบรมการสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการการสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมทางสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
โดยสรุปการศึกษาคือความเจริญงอกงามเพราะเป็นกระบวนการดึงออกและพัฒนาให้เจริญงอกงามขึ้นการศึกษาเป็นการใส่เข้าไปการศึกษาจะมีลักษณะ1คงที่คือความรู้จะไม่มีการพัฒนาขึ้นจะมีเฉพาะที่อาจารย์บอกเท่านั้นอาจารย์หมดความรู้ก็เป็นอันว่าจบกันเท่านั้น
2 ขาดหายไปคือยิ่งนานวันเข้าความรู้ที่มีอยู่ก็จะหดหายไปทีละน้อยน้อยเพราะตกหล่นหรือจะเป็นเพราะอะไรก็แล้วแต่ในที่สุดอาจจะหมดไปเลยก็ได้
ดังนั้นการศึกษาจึงมีความหมายพอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นกระบวนการหรือการกระทำที่ให้ความรู้หรือทักษะระบบการสอนหรือการเรียน
2. เป็นการได้รับความรู้หรือทักษะผ่านกระบวนการจากโรงเรียน
3. ความรู้หรือทักษะที่ได้รับหรือพัฒนาโดยกระบวนการเรียนรู้หรือโครงการของการสอนในระดับเฉพาะทาง
4.
สาขาของการศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับการสอนการเรียนรู้รวมทั้งทฤษฎีของการสอนและศาสตร์ของการสอน
1.3 ความสำคัญของการศึกษา
การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสังคมให้คนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมเป็นคนมีคุณภาพคุณธรรม
กล่าว
คือการศึกษาช่วยสร้างจิตสำนึกในการเป็นมนุษย์มีจิตวิญญาณของผู้มีอารยธรรมทางปัญญาและความงดงามทางจิตใจการศึกษาสร้างให้คนมีความรู้ในการดำรงชีวิตการประกอบอาชีพมีความอดทนในการต่อสู้กับอุปสรรคของชีวิตการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกวัยการศึกษามีความสำคัญหลายประการดังนี้
1.การศึกษาช่วยขัดเกลาให้คนเป็นมนุษย์ดังคำกล่าวของท่านพุทธทาสภิกขุว่าเป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูงเหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขนถ้าใจต่ำเป็นได้แต่คนย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา
2.การศึกษาช่วยอบรมพลเมืองให้เป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตสามารถช่วยให้ตนเองดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขอย่างมีปัญญา
3.การศึกษาช่วยค้ำจุนให้ชาติสามารถดำรงอยู่ได้เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งในการปลูกฝังความรักและหวงแหนในสิ่งที่แสดงความเป็นชาติได้แก่ศิลปวัฒนธรรมทรัพยากรธรรมชาติเอกราชอาณาเขต
4.การศึกษาช่วยสร้างพลเมืองให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพในการเลี้ยงตนเองและครอบครัว
5.การศึกษาช่วยให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและสามารถปกป้องตนเองและประเทศชาติให้ดำรงสถานภาพอยู่ได้ในสังคมโลกอย่างมีเสถียรภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น